top of page

JAPANESE RICE  日本のライス

27/03/2018

14.jpg

รู้กันหรือเปล่า? นอกจากความสดใหม่ของคุณภาพวัตถุดิบแล้ว ข้าวที่ใช้ในแต่ละเมนูก็ล้วนมีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน เรียกว่าเป็นอีกใจหลักของอาหารญี่ปุ่นก็ว่าได้

โดยในภาษาญี่ปุ่นเรียกข้าวที่เป็นเมล็ด ๆ ว่าโคเมะ (米) ส่วนข้าวที่หมายถึงของกินเรียกว่าโกะฮัง (ご飯) แปลได้ว่าอาหารที่ควรค่าแก่การยกย่อง หรือมีอีกความหมายว่าสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต

.
ซึ่งส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการกินที่เน้นรสสัมผัสธรรมชาติ ปรุงอาหารต่าง ๆ ต้องไม่ทำลายรสธรรมชาติดั้งเดิม ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่าอาหารญีปุ่นจึงรสไม่จัดจ้าน หรือบางครั้งถูกจับคู่กับข้าวในเมนูด้งต่าง ๆ ข้าวญี่ปุ่นมีหลายสายพันธุ์ย่อยมาก ๆ (เหมือนบ้านเรา) แต่ที่ได้รับความนิยมเด่น ๆ ดัง ๆ อยู่ 4 ประเภท เซริวเลยขอหาข้อมูลเกร็ดความรู้เรื่องข้าวญี่ปุ่นแต่ละประเภทมาให้รู้กันค่ะ (เลื่อนต่อไปตามภาพกันได้เลย)

.
Credit : https://allabout-japan.com/th/article/5892/

15.jpg

พันธุ์ Koshihikari (コシヒカリ) 

พันธุ์ Koshihikari นี้เป็นข้าวพันธุ์ที่ได้รับความนิยมที่สุด ดังนั้นจึงมีการเพาะปลูกมากที่สุดในญี่ปุ่นโดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของการผลิตข้าวทั้งหมดเลยทีเดียว มีความเหนียวนุ่มมากกว่าพันธุ์อื่นๆ และความหอมกำลังดี ถูกปากชาวญี่ปุ่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นที่สุด ถือเป็นราชาข้าวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ข้าวพันธุ์นี้มีปลูกอยู่หลายจังหวัดมากๆ แต่มักนิยมปลูกที่สุดที่จังหวัดนีงาตะ จังหวัดอิบาระงิ จังหวัดโทชิงิ จังหวัดชิบะ และจังหวัดมิยาซากิ

16.jpg

พันธุ์ Akitakomachi (あきたこまち)

พันธุ์ Akitakomachi มีจุดเด่นเรื่องความหวาน มีความร่วนกว่าข้าวพันธุ์ Koshihikari หุงขึ้นหม้อ แม้จะทิ้งไว้จนเย็นความอร่อยก็ยังคงอยู่ เพราะมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่จังหวัดอะกิตะเลยได้ชื่อพันธุ์เหมือนชื่อจังหวัด ข้าวชนิดนี้เหมาะกับอาหารหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะอาหารญี่ปุ่น อาหารฝรั่ง หรือข้าวปั้น ก็เข้ากันอย่างดี มักปลูกที่จังหวัดอะกิตะ จังหวัดอิวาเตะ จังหวัดอิบาระงิ จังหวัดชิบะ

17.jpg

พันธุ์ Sasanishiki (ササニシキ)

พันธุ์ Sasanishiki มีความร่วนมากกว่าสองชนิดแรก เข้ากับซูชิเป็นอย่างดี จึงได้รับความนิยมในร้านซูชิ สมัยก่อนข้าวพันธุ์นี้ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กับข้าวพันธุ์ Koshihikari (コシヒカリ) แต่ตั้งแต่ปี 1993 ที่ญี่ปุ่นเจอภัยหนาว แล้วด้วยความทีข้าวพันธุ์นี้ไม่ค่อยทนเสียเท่าไรจึงทำให้ไม่ค่อยนิยมปลูก เหลือเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นของจำนวนการผลิตข้าวทั้งประเทศเท่านั้น มักปลูกที่จังหวัดมิยางิ
.

ส่วนใครที่สงสัยว่าแล้วเซริวใช้ข้าวแบบไหน 
เราใช้ข้าวสายพันธุ์ Sasanishiki (ササニシキ) ค่ะ รับรองว่าอร่อยเข้ากับซูชิเป็นที่สุด ถ้าไม่เชื่อต้องลองแวะมาทานที่เซริวและลิ้มรสสัมผัสกันนะคะ

18.jpg

พันธุ์ Haenuki (はえぬき)

พันธุ์ Haenuki มีความแข็งมากกว่าชนิดอื่นข้างต้น หวานกลางๆและแม้จะทิ้งไว้เย็นก็ยังคงความอร่อยไว้อยู่ (จะสังเกตได้ว่าข้าวปั้นและข้าวกล่องตามร้านสะดวกซื้อมักจะใช้ข้าวพันธุ์นี้ เพราะเมล็ดแข็ง คงรูปลักษณ์และความอร่อยไว้ได้นาน) ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกใจว่าข้าวสายพันธุ์ Haenuki จึงได้รับการจัดอันดับให้เป็นข้าว Toku A (特A) หรือข้าวพันธุ์ดีอันดับสูงสุดติดต่อกันถึง 20 ปี ข้าวพันธุ์นี้เข้ากับอาหารหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โอริกินิ(ข้าวปั้น) ข้าวหน้าต่างๆ หรือจะกับแกงกะหรี่ก็เข้ากัน ข้าวพันธุ์ Haenuki มักปลูกที่จังหวัดยามากาตะ

bottom of page